การใช้ฟังก์ชัน if ซ้อน if ใน Excel

บทความก่อนเราได้แนะนำการใช้ฟังก์ชัน if ในโปรแกรม Excel แบบพื้นฐานไปแล้ว บทความนี้เราจะมาแนะนำการใช้งานฟังก์ชัน if ที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้น คือการใช้งาน if ซ้อน if ไปดูกันเลย

บทความก่อนเราได้แนะนำการใช้ฟังก์ชัน if ในโปรแกรม Excel แบบพื้นฐานไปแล้ว การใช้ฟังก์ชัน if ใน Excel เบื้องต้น บทความนี้เราจะมาแนะนำการใช้งานฟังก์ชัน if ที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้น คือการใช้งาน if ซ้อน if ไปดูกันเลย

โปรแกรม Excel นั้น ให้เราสามารถใช้สูตร if ซ้อนกันได้มากถึง 64 ชั้น แต่ไม่แนะนำให้ใส่เยอะขนาดนั้นครับ เพราะเสี่ยงกับความผิดพลาด และยากต่อการตรวจสอบเมื่อสูตรมีปัญหา และทำความเข้าใจยากเมื่อกลับมาดูอีกครั้ง

การใช้ if โดยทั่วไปเราต้องใส่ พารามิเตอร์ด้วยกันทั้งหมด 3 ตัว คือ เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบ ผลลัพธ์เมื่อเป็นจริง และผลลัพธ์เมื่อเป็นเท็จ การใช้งาน if ซ้อน if นั้นเราจะใช้โครงสร้างแบบเดิม แต่จะเราจะใส่ if อีกตัวเข้าไปผลลัพธ์ที่เป็นเท็จ ดังภาพด้านล่าง

ถ้าเรามีเงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบหลายเงื่อนไขก็เพียงใส่ฟังก์ชัน if ซ้อนเข้าไปที่ผลลัพธ์ที่เป็นเท็จเรื่อย ๆ จากภาพด้านล่างจะเป็นว่าเส้นสีฟ้าเป็นฟังก์ชัน if หลัก ส่วนสีส้มจะเป็นฟังก์ชัน if ที่ซ้อนในสีฟ้าโดยจะอยู่ในส่วนของผลลัพธ์ที่เป็นเท็จของสีฟ้า ส่วนสีเขียวก็ฟังก์ชัน if ที่ซ้อนในสีส้มอีกที

การใช้ฟังก์ชัน if ซ้อน if ใน Excel

อธิบายการทำงานของฟังก์ชัน if ซ้อน if

อธิบายการใช้ฟังก์ชัน if ซ้อน if ใน Excel

โดยการทำงานจะเริ่มจาก

  • ตรวจสอบเงื่อนไขที่หมายเลข 1 เป็นอันดับแรก ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงแสดง 5%
  • ถ้าเป็นเท็จ มาตรวจสอบเงื่อนไขที่หมายเลข 2  ถ้าเป็นจริงแสดง 4%
  • ถ้าเป็นเท็จ มาตรวจสอบเงื่อนไขที่หมายเลข 3  ถ้าเป็นจริงแสดง 3%
  • ถ้าเป็นเท็จทั้งหมด ก็จะมาที่หมายเลข 4  ถ้าเป็นจริงแสดง 2%

สำหรับบทความแนะนำการใช้ฟังก์ชัน if ซ้อน if ใน Excel ก็มีเพียงเท่านี้ ก็หวังว่าจะช่วยแนะนำเพื่อนๆ ที่สนใจได้ ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านครับ ไว้เจอกันบทความหน้าครับ

ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์รบกวนกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะครับ และถ้าต้องการติดตามอ่านบทความของเราอย่างต่อเนื่องก็สามารถติดตามได้ที่เพจครับ Facebook.com/sara2udotcom

บทความที่เกี่ยวข้อง