Error
  • JLIB_APPLICATION_ERROR_COMPONENT_NOT_LOADING
  • JLIB_APPLICATION_ERROR_COMPONENT_NOT_LOADING
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1

เริ่มเขียน PHP กัน

     PHP จัดเป็นภาษาสคริปต์ที่ทำงานที่ฝั่ง Server คือทำการประมวลผลที่ฝั่ง Server แล้วจึงทำการส่งผลลัพธ์ที่เป็น HTML มายังเครื่อง Client เพื่อให้บราวเซอร์ทำการแสดงผล การเขียนโปรแกรมด้วย PHP นั้นสามารถเขียนแบบ PHP อย่างเดียว หรือจะแทรกไว้ในเอกสาร HTML ก็ได้ครับ โดยใช้แท็ก     <? หรือ <?php และปิดท้ายด้วย ?>     แท็กผมแนะนำให้ใช้ <?php //คำสั่ง; ?> นะครับ เพราะ Server บางทีเค้าไม่ให้ใช้แท็กแบบย่อ <? เดี๋ยวจะงานเข้าซะ ต่อไปมาดูตัวอย่างกันนะครับอันนี้เป็นแบบเขียนแทรกเข้าไปใน HTML ครับ เปิดโปรแกรม Notepad++ ขึ้นมาแล้วสร้างเอกสารเปล่าๆ อันนึงแล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้

<html>
<head><title></title></head>
<body>
<?php
    echo "Hello";
?>
</body>
</html>

      แล้วทำการ save ไฟล์เก็บไว้ที่ C:\AppServ\www และที่หน้าต่าง Save As ให้เลือก Save as type เป็น PHP Hypertext Preprocesso file ซึ่งจะทำให้ได้ไฟล์นามสกุลเป็น .php หลายคนอาจจะงงว่าทำไมต้อง save ไฟล์ไปที่  C:\AppServ\www ละ ไว้ที่อื่นได้มั้ย ตอบว่าไม่ได้ครับ เพราะว่าอย่างที่บอกไว้แต่แรก PHP ต้องรันที่ฝั่ง Server แล้วส่งผลลัพธ์มายัง Client และตอนนี้เราก็ได้ใช้เครื่อง PC ของเราเป็น Server เพื่อทดสอบเขียนโปรแกรมด้วย ถ้าดูที่เก็บไฟล์ดีๆ แล้วมันจะเป็นที่เดี่ยวกับที่ๆ เราติดตั้ง AppServ เมื่อบทความที่แล้วครับ สรุปง่ายๆ คือนั้นคือส่วนของ Server ที่อยุ่บนเครื่อง PC ของเราครับ อ้าวแล้ว Client ละ Client ก็คือโปรแกรมบราวเซอร์(Internet Explore,Firefox,Chrome) นั้นเอง ซึ่งโฟลเดอร์ www คือที่เก็บไฟล์ที่ AppServ กำหนดไว้ให้เรา เอาละเรากลับมาในส่วนของการ Save ไฟล์กันต่อเลยครับ ก็ทำการตั้งชื่อไฟล์ ผมตั้งว่า first นะครับ แล้ว save ได้เลยครับ

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษา PHP

จากนั้นทำเปิดโปรแกรมบราวเซอร์ขึ้นมา ของผมใช้เป็น Firefox นะครับ แล้วพิมพ์ http://localhost/first.php ลงในช่อง address แล้วกด Enter ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงข้อความว่า Hello เพราะว่าคำสั่ง echo คือคำสั่งสำหรับแสดงข้อความ

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษา PHP รันโปรแกรม

     ต่อไปเรามาลองเขียนแบบ PHP อย่างเดียวไม่ต้องทำการแทรกเข้าไปใน HTML ครับ สร้างเอกสารใหม่อีกอันขึ้นมาด้วย Notepad++ ครับ แล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้

<?php
      echo "Hello";
?>

      และทำการ save ไฟล์เหมือนการ เขียนแบบแทรก คือ Save ไปไว้ที่ C:\\AppServ\www แต่ตั้งชื่อไฟล์ และจากนั้นทำการรันทดสอบด้วยการพิมพ์ http://localhost/ชื่อไฟล์ที่ตั้ง.php ของผมตั้งเป็น test2.php ผลก็จะได้ดังภาพ

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษา PHP รันโปรแกรม

     สำหรับบทความนี้ก็คงจบแต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกๆ คนที่แวะเข้ามาอ่าน หวังว่าคงเป็นแนวทางจุดเริ่มต้นสำหรับท่านใดที่ต้องการศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP นะครับ แล้วเจอกันบทความต่อไปครับ สวัสดีครับ