Error
  • JLIB_APPLICATION_ERROR_COMPONENT_NOT_LOADING
  • JLIB_APPLICATION_ERROR_COMPONENT_NOT_LOADING
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1
  • Error loading component: com_content, 1

      สำหรับการทำงานที่มีการทำเหมือนๆ ซ้ำๆ กัน เช่นจะให้แสดงข้อความว่า Hello สัก 1000 คำ ถ้าจะให้เรามาทำทีละรอบมันก็กะไรอยู่ เสียเวลาครับ ดังนั้นเค้าจึงได้มีคำสั่งพวก Loop มาให้เราๆ ใช้งานกัน ก็มีด้วยกันหลากหลายอันครับ while,do...while,for,foreach แต่วันนี้เรามาดูที่ตัว for กันก่อนครับ

For

ใช้สำหรับการทำงานที่รู้จำนวนรอบที่แน่นอน โดยคำสั่งจะเริ่มที่

  1. การกำหนดค่าเริ่มต้น
  2. ตรวจสอบเงื่อนไข 
  3. ถ้าเป็นจริงทำตามคำสั่ง เป็นเท็จหยุดการทำงาน
  4. การเพิ่มค่า
  5. กลับไปทำข้อ 2 อีกครั้งจนกว่าค่าจะเป็นเท็จ

ตัวอย่างการแสดงคำว่า Hello สัก 1000 รอบครับ

for($i=1;$i<=1000;$i++){
     echo $i." Hello<br/>";
}

ถ้าดูจากโค้ด จะเห็นว่ามีการทำงานเหมือนกับขั้นตอนที่ได้อธิบายไว้ด้านบน คือ

  1. การกำหนดค่าเริ่มต้น $i=1
  2. ตรวจสอบเงื่อนไข $i<=1000
  3. ถ้าเป็นจริงทำตามคำสั่ง เป็นเท็จหยุดการทำงาน
  4. การเพิ่มค่า $i++
  5. กลับไปทำข้อ 2 อีกครั้งจนกว่าค่าจะเป็นเท็จ

สำหรับบทความต่อไปจะไปดูเรื่อง การใช้ Foreach กันครับ Laughing