การใช้ฟังก์ชัน SUMIF ใน Excel

ฟังก์ชัน SUMIF เอาใช้สำหรับหาผลรวมของข้อมูลใน Excel ตามเงื่อนไขที่เรากำหนด ฟังก์ชัน SUMIF ถือเป็นอีกฟังก์ชันพื้นฐานที่มีการใช้งานบ่อย ๆ บทความนี้จะมาแนะนำการใช้ฟังก์ชัน SUMIF ใน Excel สำหรับมือใหม่กัน ว่าฟังก์ชัน SUMIF เราต้องทำอย่างไรบ้าง

ฟังก์ชัน SUMIF เอาใช้สำหรับหาผลรวมของข้อมูลใน Excel ตามเงื่อนไขที่เรากำหนด ฟังก์ชัน SUMIF ถือเป็นอีกฟังก์ชันพื้นฐานที่มีการใช้งานบ่อย ๆ บทความนี้จะมาแนะนำการใช้ฟังก์ชัน SUMIF ใน Excel สำหรับมือใหม่กัน ว่าฟังก์ชัน SUMIF เราต้องทำอย่างไรบ้าง

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าการจะใช้ฟังก์ชันใน Excel นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ลองอ่าน การใส่สูตรใน Excel เบื้องต้น หรือ การใช้ฟังก์ชัน Sum ใน Excel ก่อนก็ได้

รูปแบบของฟังก์ชัน SUMIF

SUMIF(range, criteria, [sum_range])

พารามิเตอร์ที่ฟังก์ชัน SUMIF ต้องการมีด้วยกัน 3 ตัว คือ

range คือ ช่วงของข้อมูลที่จะใช้ตรวจสอบว่าตรงกับเงื่อนไขที่เรากำหนด (criteria)

criteria คือ เงื่อนไขที่เราต้องการสามารถใส่เป็น ค่าโดยตรง หรือ อ้างอิงไปที่เซล ก็ได้

sum range คือ ช่วงของข้อมูลที่เราต้องการ SUMIF

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน SUMIF

ตัวอย่างนี้จะเป็นการ SUM เฉพาะยอดของพนักงานชื่อ John เท่านั้น

range เราจะใส่เป็นช่วง A3:A7 ดูภาพด้านล่างประกอบครับ

criteria ใส่เป็น D3 หรือจะใส่เป็นตัวอักษรเข้าไปแบบ “John” ก็ได้แต่ไม่แนะนำเพราะถ้าจะแก้ไขสูตรยากในอนาคต

sum range ใส่เป็น B3:B7 คือช่วงข้อมูลที่เราต้องการจะรวม

การใช้ฟังก์ชัน SUMIF ใน Excel

ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็น 150,000 ตามภาพด้านล่างครับ

การใช้ฟังก์ชัน SUMIF ใน Excel

SUMIF เป็นอีกฟังก์ชันที่ได้ใช้งานค่อนข้างบ่อยครับ ลองฝึกใช้กันเพื่อให้ชำนาญ เวลานำไปใช้งานจะได้ไม่ติดขัด บทความหน้าเราจะมาดู SUMIFS อีกฟังก์ชันนึงในตระกูล SUM

อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่ครับ รวมบทความการใช้งาน Excel

ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์รบกวนกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะครับ และถ้าต้องการติดตามอ่านบทความของเราอย่างต่อเนื่องก็สามารถติดตามได้ที่เพจครับ Facebook.com/sara2udotcom