If เป็นหนึ่งฟังก์ชันในโปรแกรม Excel ที่ใช้งานกันบ่อย ๆ เพื่อตรวจสอบค่าต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่ต้องการ บทความนี้เราจะมาแนะนำการใช้งานฟังก์ชัน if ใน Excel เบื้องต้นกัน
ซึ่งฟังก์ชัน if นั้นใช้ในการเปรียบเทียบค่าของข้อมูลที่เราต้องการ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ออกมา 2 ค่า คือ เมื่อผลการเปรียบเทียบเป็นจริง และ เมื่อผลการเปรียบเทียบเป็นเท็จ ซึ่งค่าที่แสดงออกมาเราสามารถเป็นคนกำหนดเองว่าจะให้แสดงออกมาเมื่อเป็นจริง หรือ จะให้แสดงอะไรออกมาเมื่อผลเป็นเท็จ
IF (logical_test, value_if_true, [value_if_false])
ฟังก์ชัน if จะมีอากรูเมนต์ที่ต้องการ 3 ตัวคือ
logical_test คือ เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบ (ต้องใส่)
value_if_true คือ ค่าที่จะแสดงออกมาถ้าเงื่อนไขที่ทำการตรวจสอบเป็นจริง (ต้องใส่)
value_if_false คือ ค่าที่จะแสดงออกมาถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ (ไม่ใส่ก็ได้)
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่เข้าใจ ไปดูตัวอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เข้าใจการทำงานครับ สูตรดังภาพด้านล่าง จากสูตรนี้เราจะทำการตรวจสอบเซลล์ A2 ว่าเท่ากับ 10 หรือไม่ เราจะใส่เงื่อนไขการตรวจสอบตามสีม่วงว่า A2=10 และถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะให้แสดงข้อความตามสีเขียวคือ A2 เท่ากับ 10 และถ้าไม่เท่ากับ 10 จะให้แสดงข้อความตามสีแดงคือ A2 ไม่เท่ากับ 10
นอกจากเครื่องหมาย = แล้วเรายังสามารถใช้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ในการตรวจสอบเงื่อนไขได้ดังนี้
ตัวดำเนินการ |
ความหมาย |
ตัวอย่าง |
> |
มากกว่า |
A2 > 10 |
< |
น้อยกว่า |
A2 < 10 |
>= |
มากกว่าหรือเท่ากับ |
A2 >= 10 |
<= |
น้อยกว่าหรือเท่ากับ |
A2 <= 10 |
<> |
ไม่เท่ากับ |
A2 <> 10 |
ลองมาดูตัวอย่างการใช้ตัวดำเนินการต่าง ๆ กับฟังก์ชัน if อีกสัก 2 ตัวอย่าง เพื่อความเข้าใจกันนะครับ ตัวอย่างนี้
ตัวอย่างแรกการใช้ if อย่างง่าย ตัวอย่างนี้จะทำการเปรียบเทียบระหว่างเซลล์ A1 กับ B1 ว่าค่าไหนมากกว่า ถ้า A1 มากกว่าแสดงค่า A1 มากกว่า ถ้าไม่เป็นจริงแสดงค่า B1 มากกว่า ผลลัพธ์ดูได้จากภาพด้านล่าง จากนั้นให้ลองเปลี่ยนค่าใน A1 และ B1 ดูครับ และลองเปลี่ยนค่าให้เท่ากันดูครับว่าจะได้ผลอย่างไร
ตัวอย่างที่ 2 การใช้ if แบบใส่ค่าแค่กรณีที่เป็นจริง ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะแสดงค่าออกมาตามที่เรากำหนด แต่ถ้าเป็นเท็จคือ A น้อยกว่า B ก็จะแสดงค่า FALSE ออกมาเพราะเราไม่ได้กำหนดค่ากรณีเป็นเท็จดังภาพด้านล่าง
สำหรับบทความการใช้ฟังก์ชัน if ในโปรแกรม Excel ก็มีเพียงเท่านี้ ไว้บทความหน้าจะนำเสนอการใช้ที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้นครับ แล้วเจอกันบทความหน้าครับ